คำสั่งเงื่อนไข (Condition) ใน ไพธอน มีเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น แต่ก็เพียงพอสำหรับงานทุกประเภท ประยุกต์ได้หลากหลายมาก มาเข้าเรื่องกันดีกว่า คำสั่งเงื่อนไขนี้จะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่
เมื่อนำมารวมกันจะอยู่ในรูปแบบด้านล่าง
if expression: statement1 statement2
จะสังเกตุเห็นว่าคำสั่งภายใต้ if นั้นจะเว้นระยะด้านหน้าไว้ นี่คือลักษณะพิเศษของ ไพธอน ที่น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพมากอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าดูให้ดีกว่านั้น สำหรับผู้ที่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อนจะสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่า begin end endif หรือ { } หายไปไหน เพราะภาษาทั่วไป เช่น C C# Pascal Java Basic หรือ แม้แต่ PHP นั้นจะมีคำสั่ง if นี้และจะถือว่า คำสั่งภายใต้ if มีได้เพียงคำสั่งเดียวเท่านั้น ถ้ามีหลายคำสั่งต้องครอบคำสั่งเหล่านั้นด้วย { } หรือ end หรือ endif หรืออะไรบางอย่างที่ทำให้คำสั่งหลายคำสั่งเสมือนเป็นคำสั่งเดียว แต่ใน ไพธอน จะมีหลักการที่ต่างกันไป นั่นคือการจับกลุ่มชุดคำสั่งจะไม่มีคำสั่งหรือสัญลักษณ์พิเศษใดๆ แต่จะใช้เพียงการย่อหน้า หรือ Indent นั่นเอง ดังตัวอย่างข้างบน ใช้การย่อหน้าเข้ามา 4 ตัวอักษร แปลว่า statement1 และ statement2 อยู่ในระดับเดียวกันผ่านใต้ if อย่างไรก็ตาม ไพธอน ยังให้ใช้เครื่องหมาย : colon เพื่อบอกจุดจบของคำสั่งที่มีคำสั่งย่อยต่อไป เช่น if เป็นต้น การใช้ if จะเป็นดังตัวอย่างต่อไปนี้
a = 10 b = 20 if a > b: print a,’ >’,b
ในกรณีที่มีคำสั่งที่รองรับเงื่อนไขและนอกเงื่อนไข เราสามารถใช้คำสั่ง else เพื่อบ่งบอกคำสั่งเพิ่มเติมได้ ดังตัวอย่างถัดไป
if a > b: print a,’>’,b else: print a,’<=’,b
นอกจากนี้ยังมีคำสั่งพิเศษใช้ในกรณีที่มีเงื่อนไขต่อกันหลายเงื่อนไข นั่นคือ elif นั่นเอง ความจริงแล้ว elif มีการทำงานไม่ต่างกับ else if แบบปกติเท่าใดนัก สามารถเลือกใช้ตามถนัดได้
if a > b: print a,’>’,b elif a < b: print a,’<’,b else: print a,’=’,b
สำหรับเงื่อนไขที่ซับซ้อนสามารถใช้ and or not มาเชื่อมได้ตามจำเป็น เช่น
if a > b or a < b: print a,’!=’,b
สัญลักษณ์การเปรียบเทียบใน ไพธอน จะเหมือนปกติทั่วไป เช่น < > <= >= จะแปลกไปก็คือการเปรียบเทียบ เท่ากับ == และ ไม่เท่ากับ != เท่านั้นเอง