Blognone Tech Day 2.0 ภาคภาษาไทย
หลังจากผ่านมาร่วม 7 เดือนตั้งแต่ BTD ครั้งแรกที่ใช้ชื่อว่า Blognone Tech Day 2006 ครั้งที่ 1 จนมาวันนี้มาในชื่อใหม่ Blognone Tech Day 2.0 ดูเหมือนว่าหลายอย่างลงตัวมากขึ้น อาจเป็นเพราะจัดในสถานที่ที่ดีเกินคาด และคราวนี้คนดังมากันเพียบ เนื้อหาเข้มข้น ได้ความรู้ติดหัวเต็มไปหมด พันธกิจของการไป BTD ที่บอกต่อๆ กันมาเป็นตำนานก็คือ จง blog ทุกสิ่งที่ได้เห็น ได้ยินทั้งหมดออกไปให้โลกรู้ มีรูปก็จงเอาไปไว้ที่ Flickr เนื่องจากผมไม่มีกล้อง ก็รอดไปหนึ่งอย่าง แต่ยังมีการ blog ที่ขาดไม่ได้
เริ่มต้นจากหัวข้อลึกลับสำหรับคนมาเช้าที่เริ่มช้าไปนิด เพราะมีปัญหาขลุกขลักเกี่ยวกับโปรเจคเตอร์ แต่ในที่สุดก็เริ่มจนได้
-
Desktop Effect
วันนี้โชคดีได้เห็นพลังของ XGL ด้วยตาตัวเอง บอกได้ว่าน่าประทับใจมาก มันเร็วจี๋สมกับที่ใช้ฮาร์ดแวร์มาจัดการ ต่างกันโดยสิ้นเชิงกับเครื่องโน๊ตบุ๊คของผมที่ลองลง AIGLX ที่น่าทึ่งที่สุดเห็นจะเป็น Akamaru หรือ Kiba Dock นี่เอง
-
nubuntu
nUbuntu เป็นเรื่องน่าสนใจมากมีโปรแกรมากมายที่มีประโยชน์ เริ่มจากโปรแกรมเล็กๆ nbtscan ที่เอาไว้แสดงไอพี และชื่อ NetBIOS พร้อม MAC เอาไว้จัดการในขั้นต่อไป สำหรับเครื่องที่ต่อผ่าน switch ก็มี arpspoof เอาไว้หลอก switch โดยเฉพาะ เมื่อหลอกได้แล้วก็ใช้ Ethereal ดักหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
และตามด้วยรายการตามปกติตามลำดับดังต่อไปนี้
-
RELAXNG
น่าสนใจตั้งแต่เรื่องแรก ก่อนฟังยังมึนๆ ว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่พอฟังแค่หน้าเดียวก็เข้าใจท่องแท้ ยิ่งได้เห็นตัวอย่างยิ่งปิ๋ง นี่แหละคือสิ่งที่จะมาช่วยเขียน W3C XML Schema ให้สั้นลงด้วย RELAXNG ฟังจบแล้วก็มีคำถามเกี่ยวกับ ความเป็นไปได้ที่จะใช้ RELAXNG ใน WSDL คำตอบก็เป็นไปตามคาด WSDL ไม่ได้ระบุ Schema ตายตัว อย่างใช้ แบบไหนก็ได้ไม่ว่าจะเป็น DTD, XML Schema หรือ RELAXNG แต่ปัญหาก็คือไม่มีซอฟต์แวร์ดังๆ ตัวไหนสนับสนุน RELAX NG ซักตัว ปัญหาใหญ่จริงๆ สุดท้ายก็คงต้องใช้วิธีเขียน RELAXNG แล้วแปลงเป็น XML Schema ด้วย
trang
ตามเคยตบท้ายด้วยการแสดงพลังของ Emacs ที่เห็นกี่ทีก็ประทับใจ แต่ลองเองทีไรก็มึน กลับมาใช้ vi เหมือนเดิม
-
Emerging Technology
เรื่องนี้ฟังชื่อเรื่องแล้วยังงงๆ แต่ฟังแล้วรู้สึกว่าโลกก้าวหน้าไปมากกว่าที่คิดเยอะมากๆ เรื่องหลายเรื่องที่มีในนิยายวิทยาศาสตร์ ก็เริ่มออกมาเป็นรูปเป็นร่าง คาดว่าอีกไม่กี่ปีก็คงจะเห็นมากขึ้น เอ่อ แต่โดยส่วนตัวผมคงไม่มีจินตนาการมากขนาดที่จะ คิดอะไรที่ล้ำยุคมากขนาดนั้น ต้องขอเวลาไปอยู่ในป่าเงียบๆ ซักพักใหญ่ๆ
-
OpenCARE
อยากฟังมานานแล้ว ตั้งแต่เห็นเว็บ OpenCARE เมื่อหลายเดือนก่อน เนื่องจากว่าผมพยายามจะเข้าใจและเขียนโปรแกรม อะไรซักอย่างบน OpenCARE ซึ่งผมก็ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรกันแน่ ถึงตอนนี้ผมก็ยังรู้สึกว่ามันยังซับซ้อนอยู่ดี แต่ก็เข้าใจมากกว่าเดิม และได้รู้จักกับ Borg กับ Drone บังเอิญผมไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้ Star Trek เลยไม่ค่อยจะรู้เรื่อง แต่ก็ดูน่าสนใจดี มาเข้าเรื่อง OpenCARE กันดีกว่า เท่าที่ผมเข้าใจ OpenCARE ไม่มีตัวตนที่แน่นอน ความหมายที่แท้จริงของ OpenCARE คือระบบกระจายข้อมูลข่าวสาร ซึ่งแปลว่าตัวมันเองไม่มีข้อมูล ไม่มีแหล่งเก็บข้อมูล ถ้าจะให้เข้าใจง่ายขึ้นนิดแบบรูปธรรมมากหน่อยก็ต้องบอกว่า OpenCARE เป็น MOM ซึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนใหม่ ทางทีมงานได้เลือกใช้ Apache ActiveMQ ซึ่งสนับสนุนการเชื่อมต่อกับภาษาที่หลากหลายมาก เมื่อมี MQ แล้ว การเชื่อมต่อกันระหว่างส่วนประกอบย่อยอื่นๆ นั้นจะกระทำผ่าน Message ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะหมายถึงหน่วยงาน และทุกอย่าง แต่เพื่อให้ไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมเก่าจึงต้องมี Plug-in เพื่อเป็นตัวกลางในการแปลงข้อมูลเข้าออกโดยที่ ข้อมูลกลางนั้นจะใช้ EDXL ฟังดูเหมือนจะง่ายดี เอ่อ แต่ผมเขียนไม่ได้
ปัญหาใหญ่ที่สุดคงเป็นว่าผมไม่เข้าใจขั้นตอนในการเขียนโปรแกรมสำหรับทำงานบน Apache Geronimo ซึ่งในความจริงแล้วอยู่ใน WASCE ที่ใช้ในโครงการนี้ จึงไม่สามารถเขียน Plug-in ได้ไม่ว่าจะเป็น Java หรือ Python นอกจากนี้ยังได้รู้จักกับ SAHANA ที่พัฒนาโดยศรีลังกา
ดูๆ ไปผมก็เริ่มสับสนระหว่างการออกแบบให้พัฒนารวดเร็ว ทำงานงั้นๆ ได้ใช้ในเดือนถัดไป หรือการออกแบบให้ดีเลิศประเสริฐศรี แต่ต้องเขียนกันเป็นปี แต่สงสัยว่าผมจะไม่รู้เรื่อง ActiveMQ เองนั่นแหละ เท่าที่เข้าใจช่วงนี้น่าจะขึ้นอยู่กับการกำหนด
- Message routing
- Message type
ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกรึเปล่า จริงๆ แล้วลง WASCE รอไว้ตั้งสองเดือน พร้อม Eclipse ตัวใหม่ล่าสุดสำหรับลองเขียน Plug-in สำหรับ OpenCARE โดยเฉพาะ แต่ดันใช้ไม่เป็น เศร้าจัง ตอนฟังจบผมกะจะถาม แต่ก็นึกละอายนิดๆ ที่ 2 เดือนยังไปไม่รอด แล้วจะไปช่วยอะไรได้ จะถามว่าเขียนยังไงก็ยิ่งเข้าป่าไปกันใหญ่ แทนที่จะช่วยยังไปถ่วงซะอีก สรุปว่าขอไปฝึกวิชาบนเขาอีกซักพัก
-
WiMAX
ผมคงรู้เรื่องเกี่ยวกับ WiMAX มากเกินไปหน่อย เลยทำให้ฟังเข้าใจง่ายเกินไป ฟังแล้วต้องบอกว่าชอบสไตล์การนำเสนอของ อ.อนันต์มากๆ พูดดี พูดสวย อธิบายด้วยคำง่ายๆ มีข้อคิดแทรก และตรงต่อเวลา อะไรจะดีปานนั้น และแล้วก็ต้องตบท้าย ด้วยการยกมือถามตามธรรมเนียม ถ้าไม่มีคำถามซะเลยจะไม่งาม เลยต้องถามคำถามสำหรับแสดงวิสัยทัศน์โดยเฉพาะ เรียกว่า ตอบอะไรก็ถูกไปซะหมด
ดูจากแนวโน้ม สงสัยว่าในไทย WiMAX จะมาแรงกว่า 3G
-
Oracle OpenWorld: Unbreakable Linux
เรื่องนี้เป็นเรื่องแทรกที่น่าสนใจมาก เรื่องของเรื่องคือ Oracle ประกาศจะเอา RHEL มาจัดการเอง ด้วยแนวคิดแล้ว มันเหมือนกับ CentOS เป๊ะๆ แต่เพื่อให้แตกต่าง Oracle ยังรับประกันความเสียหายทุกด้าน รวมไปถึงการฟ้องร้องทุกเรื่องเกี่ยวกับ Linux และที่น่าสนที่สุดคือ ราคาต่ำกว่า Red Hat ด้วยซ้ำ ผมว่านี่เป็นการประกาศสงครามชัดๆ อยากรู้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
-
OLPC
หลังจากพักเที่ยงแป๊ปนึงก็กลับมาเข้าเรื่องเบาๆ แต่ได้ยินข่าวบ่อยๆ ผมก็แอบสนใจอยู่ลึกๆ มีข่าวดีมาบอกกล่าวหลายเรื่อง เช่น OLPC ตัวปัจจุบันมี SD Card Reader ในตัว และตัวถัดไปจะมีกล้อง Webcam ในตัว เป็นต้น และความจริงที่น่าประหลาดใจเมื่อเครื่องบางรุ่นมีระบบชารจไฟด้วยเครื่องปั่นไฟขนาดจิ๋ว ปัญหาก็คือต้องดึงสายจากเครื่องปั่นไฟ เป็นเวลา 1 นาที เพื่อให้ได้ไฟเพียงพอสำหรับ 10 นาที หวังว่าจะมีเครื่องปั่นไฟแบบจักรยานขายคู่กันด้วย
อย่างไรก็ดี ตอนนี้อนาคตของ OLPC ในไทยยังไม่แน่นอน ผมก็ได้แต่หวังว่าจะมีโอกาสซื้อมาบ้าง ก่อนอื่นว่าจะลองเอามาเล่น เห็นมีแจกให้ลองใช้ที่นี่
-
Debian Technology
เรื่องน่าสนใจมากๆ เพราะผมย้ายตัวเองมาอยู่ค่าย Ubuntu ได้สักพักแล้ว มาแบบไม่คิดจะกลับซะด้วย แต่ก็ยังไม่เข้าใจมัน อย่างท่องแท้เสียที แม้บัดนี้ก็ยังมั่วๆ อยู่ โชคดีที่มั่วไม่ผิดทางมากนัก วันนี้ฟังแล้วได้เรื่องกลับมาเพียบ
- deborphan เอาไว้หาแพ็คเกจที่ไม่มีใครใช้ เนื่องจากผมยังใช้ aptitude ไม่คล่อง ไอ้นี่อาจจะช่วยได้
- dlocate โง่ใช้
dpkg -S
มานาน ต่อไปจะลองใช้ไอ้นี่แทน - apt-zip เอ่อ อันนี้รู้ไว้ใช่ว่า ซักวันอาจจะมีประโยชน์ ปกติผมใช้ proxy แทน
- jigdo ได้ยินชื่อมานาน แล้ววันนี้ก็รู้จักมันซะที เป็นไอเดียที่น่าสนใจ แทนที่จะโหลด ISO มาใหม่ทั้งหมด ก็โหลดเฉพาะแพ็คเกจที่เปลี่ยนแล้วสร้าง ISO ใหม่ขึ้นมา
- dh-make โง่มานาน ไม่เคยใช้เลย ปกติจะไปสำเนามาจากแพ็คเกจอื่นที่คล้ายกัน แล้วเปลี่ยนค่าเท่าที่รู้จัก
- debuild pbuilder piuparts ยังไม่เคยใช้ แต่น่าสนใจดีที่เดียว ปกติใช้แต่ dpkg-buildpackage
- dch เอาไว้แก้
changelog
โง่อีกตามเคย - debdiff dpatch ของดีที่ยังไม่เคยใช้
- lintian linda เอาไว้ตรวจสอบความถูกต้อง
- buildd แนวคิดดี น่าเอามาใช้บ้าง
ปิดท้ายเล็กน้อยสไลด์นี้เขียนด้วย S5 เอาไว้เปิดดูในเวบเบราเซอร์
-
Interlectual Property
ทีนี้ก็มาเข้าเรื่องที่เกี่ยวกับคำกันบ้าง เรื่องนี้ผมพอรู้มาบ้างแต่ไม่แม่นนัก เอาเป็นว่าได้รู้จักกับ Copyright Parent และ Trademark กันอย่างถ่องแท้ทีเดียว มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับอัลกอริทึ่มที่ถูกนำไปจดสิทธิบัตร ปัญหาคือใครผิด ระหว่างผู้พัฒนา ผู้ใช้ ผู้แจก และผู้คอมไพล์ เอ่อ งง
-
ZWSP
ผมเคยพยายามเขียน ZWSP เป็นโมดูลของ Drupal ด้วย PHP ล้วนๆ แต่ก็ไปไม่รอดเพราะติดปัญหาเรื่อง Regular Expression บน unicode พอได้ยินว่าจะทำแบบเดียวกันด้วย JavaScript ก็ดี อย่างน้อยก็อ่านรู้เรื่อง แต่ผมสนใจว่าจะพิมพ์ ZWSP บน vi มากกว่า ไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี ซักวันๆ
-
erlang
แค่เห็นชื่อหัวข้อก็มึนแล้ว แต่อ่านมาก่อนคร่าวๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นภาษาที่ประสิทธิภาพดีมากๆ ช่วงนี้กำลังศึกษาเรื่องด้านนี้ เลยสนใจเป็นพิเศษ ฟังแล้วก็ไม่ผิดหวัง อย่างน้อยก็รู้ว่า Apache ตายเมื่อโดน concurrency แถวๆ 1000 ในขณะที่ yaws ซึ่งเขียนด้วย Erlang รับได้ 40000 โดยที่ไม่ตาย แค่นี้ก็น่าสนใจมากแล้ว นอกจากนี้ผมยังกลับมาหา Erlang BitTorrent Tracker อีกด้วย น่าสนใจสุดๆ
งานนี้ว่าจะจบด้วยการประกวด T-shirt แต่เวลาไม่พอ อุตส่าห์สวม ไปนะเนี่ย ถ้าจัดคราวจะเอาเสื้ออะไรไปละเนี่ย ก่อนจบวันนี้ต้องเตือนความจำตัวเองว่าต้องเอาม้วนวีดีโอกลับไป capture ออกมาเป็น MPEG4 3GPP FLV และอัพโหลดไว้ที่ Google Video กับ YouTube ซะด้วย
Tags: blognone, btd2, blognone tech day 2.0
- sugree's blog
- 3132 reads
Post new comment