Python
คำสั่งลูป
ลูป (Loop) เป็นสิ่งที่จำเป็น และทรงพลังที่สุดของการแก้ปัญหาด้วยการเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ เพราะมันช่วยย่นระยะเวลาของการทำงานได้ไม่จำกัด โดยทั่วไปเกือบทุกภาษาจะมีคำสั่งประเภท ลูป อยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เลือกใช้งานได้หลายกรณี แต่สำหรับ ไพธอน ไม่มี เพราะลูป เหล่านี้มักเป็นต้นเหตุของข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรม เขียนแล้วมึน เขียนแล้วงง นานเข้าก็ไม่เข้าใจ เนื่องจากคำสั่ง ลูป ที่เขียนนั้นซับซ้อนเกินไปนั่นเอง สรุปแล้ว ไพธอน มีลูปเพียง 2 แบบเท่านั้น ไม่มีมากกว่านี้เด็ดขาด ได้แก่
- Add new comment
- Read more
- 3908 reads
คำสั่งเงื่อนไข
คำสั่งเงื่อนไข (Condition) ใน ไพธอน มีเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น แต่ก็เพียงพอสำหรับงานทุกประเภท ประยุกต์ได้หลากหลายมาก มาเข้าเรื่องกันดีกว่า คำสั่งเงื่อนไขนี้จะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่
- เงื่อนไข
- คำสั่งเมื่อตรงตามเงื่อนไข
- Add new comment
- Read more
- 5370 reads
คำสั่งควบคุม
การเขียนโปรแกรมที่ทำงานตั้งแต่บนลงล่างนั้นดูจะธรรมดาเกินไปสำหรับปัญหายากๆ แต่ก็เป็นไปได้สำหรับงานที่ไม่ซับซ้อน การออกแบบด้วยวิธี top-down เป็นกรรมวิธีอย่างหนึ่งเพื่อให้โปรแกรมที่ได้ไม่ซับซ้อน และมันทำงานแบบบนลงล่าง อย่างไรก็ตามในที่สุดแล้วโปรแกรมมักซับซ้อนเกินกว่าที่จะทำแบบบนลงล่างทั้งหมดได้ เมื่อโปรแกรมมีความซับซ้อนจึงต้องมีคำสั่งพิเศษสำหรับควบคุมการทำงาน หรือ Control Flow คำสั่งประเภทนี้ใน ไพธอน จะถือเป็นคำสั่งเฉพาะ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- Add new comment
- Read more
- 5864 reads
ตัวอย่างตัวแปรตามชนิดข้อมูล
ว่ากันตามจริงแล้วตัวแปรในไพธอนใช้เหมือนกันหมดไม่มีข้อยกเว้นกรณีพิเศษใดๆ สิ่งที่แตกต่างไปของวิธีใช้ขึ้นกับชนิดข้อมูลของตัวแปรนั้นมากกว่า เพราะไพธอนเป็นภาษาที่อิงการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ด้วยเหตุนี้ตัวแปรที่ชี้ไปยังข้อมูลเหล่านี้จึงมีสภาพคล้ายกับอ๊อบเจ็กแต่ไม่ใช่อ๊อบเจ็ก อย่างไรก็ตามการคิดว่าชนิดข้อมูลเป็นอ๊อบเจ็กแบบพิเศษก็ไม่ผิดอะไรนัก แต่ชนิดข้อมูลพื้นฐานส่วนใหญ่ไม่มีเมธอดพิเศษเหมือนภาษาอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรรกะและตัวเลข เมธอดที่ใช้บ่อยมักเกี่ยวกับลำดับและจับคู่ ตอนนี้เราก็จะมาว่ากันด้วยเรื่องของเมธอดที่ควรรู้กันทีละชุด
- Add new comment
- Read more
- 3562 reads
ตัวแปร
เนื่องจากไพธอนเป็นภาษาสคริปต์จึงไม่เน้นชนิดของตัวแปร การไม่เน้นไม่ได้หมายความว่าตัวแปรในไพธอนไม่มีชนิด ในความจริงแล้วตัวแปรถ้าพูดแบบละเอียดชนิดของตัวแปรในไพธอนมีเพียงชนิดเดียว นั่นก็คือ พอยเตอร์ (Pointer) นั่นเอง สำหรับผู้ที่เคยมีประสบการณ์เขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับกลางถึงต่ำเช่น ปาสคาล หรือซี เป็นต้น คำว่าพอยเตอร์อาจทำให้ขยาด แต่ในไพธอนแล้วพอยเตอร์เป็นเรื่องธรรมชาติที่เข้าใจได้ง่ายกว่ามาก เพราะไม่มีสัญลักษณ์และรูปแบบที่หลากหลายรวมถึงตัวแปรทุกตัวถือว่าเป็นพอยเตอร์อยู่แล้วจึงไม่สับสนกับชนิดของตัวแปร
- Add new comment
- Read more
- 4311 reads
จับคู่
ชนิดข้อมูลประเภทจับคู่ (Mapping) หรือ ดิกชั่นนารี (Dictionary) อาจรู้จักกันในชื่ของ แฮช (Hash) อธิบายสั้นๆ ได้ว่าข้อมูลประเภทนี้คือ อาเรย์ที่ใช้สามารถใช้สตริงเป็นคีย์ (Key) ถึงข้อมูลภายในได้นั่นเอง ปกติอาเรย์จะอ้างถึงข้อมูลเป็นตัวเลข เริ่มตั้งแต่ 0 ถึง n-1 เมื่อ n คือความยาวของอาเรย์
- Add new comment
- Read more
- 3129 reads
Recent comments
3 years 34 weeks ago
3 years 39 weeks ago
3 years 39 weeks ago
3 years 40 weeks ago
3 years 40 weeks ago
3 years 42 weeks ago
3 years 42 weeks ago
3 years 42 weeks ago
3 years 43 weeks ago
3 years 43 weeks ago