Linux

TLUG - A new wave

สืบเนื่องจาก TLUG ได้กลับมาที่เกษตรอีกครั้งหลังจากที่ย้ายบ้านไปนาน ผมยังโชคดีที่ถึงเวลาต้องเอารถมาเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เลยมีเหตุผลที่จะออกจากบ้าน ไหนๆ ก็ออกมาแล้วเลยใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์โดยการเข้าไปฟังซะหน่อย โชคดีอีกรอบที่ห้องประชุมอยู่ตรงข้ามห้องทำงาน สบายแท้ๆ เปลี่ยนน้ำมันเครื่องเสร็จก็นั่งทำงานรอเวลา

How to read email with login user@domain in ISPConfig

ISPConfig is one of the most powerful control panel for hosting on Linux. It offers lots of useful features. However, the default user name for obtaining email is in form web1_user where as 1 is the web identifier and user is the user name in that domain. Actually, we don't know its domain. The preferable user for reading email should be , however, ISPConfig created the user web1_user which is not meaningful for end-users. Fortunately, it is possible to configure to add support this scheme.

How to install pptpd on Ubuntu Edgy

The most widely used virtual private network protocol is PPTP for sure. I don't know why but my friend would like to have this own VPN server for use in some special case. He has a server with Ubuntu Edgy. That's my story. Fortunately, we have Poptop aka Open Source PPTP server for Linux and it is available on Ubuntu Edgy by default.

Flash Player 9 for Linux beta 2

It was about a month since Flash Player 9 for Linux beta has been released in the wild. It works on my Ubuntu Edgy perfectly. However, it is not good enough in term of production use since someones still get some buggy things. Now, it is the time to welcome the beta 2 of this software series.

Tuning Thai Fonts in Ubuntu Edgy

หลังจากที่ได้อ่านวิธีปรับแต่งฟอนต์ภาษาไทยบน Ubuntu Edgy ตอน 1 และ ตอน 2 ของคุณ Kamthorn แล้ว ผมก็อยากลองเป็นอย่างมาก แน่เนื่องจากใช้ Tahoma แบบใส่เองมาซะนาน เลยไม่ค่อยมั่นใจว่าจะสวยเท่า เนื่องจากตอนลงเมื่อนานมาแล้วมันไม่มีความสวยงาม เอาซะเลย จนสุดท้ายทนไม่ได้ต้องเอา Tahoma มาใช้

Welcome back, TLUG

ผมยังจำครั้งเมื่อเป็นสมัยยังเป็นเด็กปี 2 ขึ้นปี 3 ที่พลิกผันชะตาชีวิตกลับเข้าสู่โลกของลินุกส์หลังจากจำเป็นต้องวางเพราะเรียนแทบไม่รอดมาปีกว่าๆ ตอนนั้นผมเริ่มเข้าวงการวิจัยระดับอุดมศึกษาเป็นครั้งแรก ซึ่งก็ทำให้ชีวิตผมทั้งชีวิตที่เหลืออยู่ไม่คิดจะทำอะไรนอกจากวิจัย เนื่องจากวางมือไปนานพอควรตอนเริ่มเลยติดขัดบ้าง อะไรน่าสนใจผมลองหมด ลินุกส์นี่ก็ด้วยเหมือนกัน และด้วยเหตุที่ห้องวิจัยที่ผมสังกัดเน้นลินุกส์เป็นพิเศษ (ไม่ทำอะไรนอกจากลินุกส์ ตอนหลังค่อยเพิ่มอย่างอื่นเข้าไปบ้าง กลัวว่าจะไม่ครอบคลุมทั้งโลก) ทำให้อาจารย์ที่เคารพของผมเป็นหนึ่งในคนดังของวงการลินุกส์โดยไม่ต้องสงสัย และพอดีกับในช่วงนั้นท่านก็จัดงาน Thai Linux User Group หรือ TLUG ขึ้นที่ชั้น 1 ของตึกที่ห้องวิจัยสิงสถิตอยู่ ผมและเพื่อนๆ ร่วมห้องวิจัยเลยต้องสละเวลานอนอันมีค่าในวันเสาร์ต้นเดือนมาเปิดห้อง เปิดไฟ เปิดโปรเจคเตอร์ จัดน้ำ จัดขนมกันอยู่เนืองๆ ผมก็เลยได้อานิสงค์ในการรับฟังความรู้ในด้านทางฝั่งผู้ใช้งานแท้ๆ และฝึกภาษาอังกฤษไปในตัว (มีคนที่ไม่ใช่ไทยแต่ฟังพอได้ พูดได้นิดหน่อยมาฟังกันประจำนะครับ) ช่วงนั้นจำได้ว่ากระแสลินุกส์มาแรงมากจนทุกคนคิดว่าติดลมบนแน่ แต่สุดท้ายก็ไม่รอด คนที่มาก็เป็นหน้าเดิมๆ และลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากติดธุระ ผมนิยามคำว่า "ติดธุระ" ไว้ในความหมายที่แปลว่ามีธุระอื่นที่สำคัญกว่า หรือพูดง่ายๆ TLUG ไม่สำคัญมากพอนั่นเอง สุดท้าย TLUG ก็เงียบหายไป แต่ก็ยังมีคนสนใจโทรมาปรึกษาเรื่อยๆ จนวันดีคืนดีก็เหมือนกับว่ากระแสลินุกส์จะมาอีกรอบ TLUG ก็ทำท่าจะกลับมาใหม่ แต่โชคร้ายอาจารย์ผมไม่ไหวแล้วครับ งานที่ต้องรับผิดชอบชักจะเยอะ เข้าทำนองงานประจำเพียบ งานวิจัยยังมารออีกเป็นภูเขา สุดท้าย NECTEC ก็มารับไปจัด รู้สึกว่าจะจัดได้ซักปีก็เงียบหายไป

ณ วันนี้ TLUG กลับมาแล้ว และเป็นการกลับมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย แม้ว่าจะไม่ใช่ห้องเดิมที่มีสโลป (ห้องเดิมยกให้ภาควิชาเคมีไปเรียบร้อยแล้ว) แต่ก็กว้างกว่าเดิม ยาวกว่าเดิม ซึ่งก็น่าจะจุคนได้มากกว่าเดิมแน่นอน สาเหตุหลักที่กลับมาก็ไม่ใช่อะไรใหญ่โต แต่เนื่องจากมีแรงผลักดันจากภาครัฐให้โอเพนซอร์สภาคประชาชนมีบทบาทมากขึ้นนั่นเอง ผมมองว่าครั้งนี้รัฐบาลประสพความสำเร็จในการกระตุ้นวงการโอเพนซอร์สอย่างยิ่งยวด คนอื่นจะมองว่าไงไม่รู้นะครับ ด้วยเหตุนี้รูปแบบของ TLUG ครั้งนี้จึงเหมือนกับจะกลับไปสู่ยุคเริ่มต้นที่มีผู้ฟังมีส่วนร่วมมากๆ ผู้บรรยายก็ไม่ได้บรรยายเฉยๆ แต่จะเน้นความเป็นจริง พูดง่ายๆ ก็คือ ครั้งนี้ไม่ใช่สัมมนาทั่วไป แต่จะคล้ายกับการระดมความคิดของบุคคลในวงการโอเพนซอร์สเพื่อตัดสินใจในอนาคตของตนเอง ชื่อของงานเลยออกมาเป็น "อนาคตโอเพนซอร์สไทย"